Resins - natkli/thakc GitHub Wiki
เรซิ่นมีหลายประเภทและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ควรเลือกเหมาะสมสำหรับงานแต่ละประเภท สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเรซิ่น มีดังนี้
- Resin types (ประเภทของเรซิ่น)
- Vicosity and Hardnesss (ความหนืด และ ความแข็ง)
- Pot life and cure time (เวลาจัดการ และ เวลาแข็งตัว)
Resin types (เรซิ่นแต่ละประเภท)
เรซิ่นมีหลายประเภทและคุณสมบัติแตกต่างกันไป แต่ก็จะมีหลักๆอยู่ 4 ประเภท เช่น Polyester, UV , Epoxy และ Polyurathan
Polyester Resin
Polyester resin หรือที่เรียกกันว่า 'เรซิ่น' เป็นพลาสติกเหลว มีลักษณะหนืดคล้ายน้ำมันเครื่อง มีสีใส มีกลิ่นฉุน แข็งตัวด้วยการผสมกับตัวเร่ง เป็นวัตถุไวไฟมีคุณสมบัติแข็ง ใส เงา มีการหดตัวเมื่อทำชิ้นงานเสร็จ ประมาณ 2-3% อยู่ที่การผสมสารเร่งแข็ง ทนอุณหภูมิสูงดีกว่าพลาสติกแต่น้อยกว่าโลหะ มีหลากหลายชนิดแล้วแต่การใช้งานเช่น เรซิ่นหล่อทั่วไป เรซิ่นหล่อใส เรซิ่นไฟเบอร์กลาส เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ใสมากเป็นพิเศษ หดตัวน้อย ยืดหยุ่นตัวมาก ทนความร้อนมาก เป็นต้น
การแข็งตัว มักจะใช้ตัวโคบอล (catalyst หรือที่เรียกกันว่า ตัวม่วง) + ตัวเร่งแข็ง โดยองค์ประกอบที่สำคัญต่อการเซทตัวคือ อุณหภูมิ ยิ่งสูงยิ่งแข็งเร็ว
- ปริมาณโคบอลและตัวเร่งยิ่งมากยิ่งแข็งเร็ว
- ความชื้น ยิ่งความชื้นสูงยิ่งแข็งช้า ผิวหน้างานจะขุ่นมัว
- ปริมาณออกซิเจน ออกซิเจนเป็นตัวป้องกันการแข็งตัว ถ้ากวนนานออกซิเจนยิ่งสูง ยิ่งแข็งตัวช้า (มีประโยชน์ในการเก็บรักษา ถ้าสร้างออกซิเจนในถังด้วยการกลิ้งถังขวดไปมาให้ด้านในขยับตัวได้จะเกิดออกซิเจน จะเก็บรักษาได้นานขึ้น)
ข้อดี
- หาซื้อง่าย ราคาถูก
- แห้งไว สามารถทำให้แข็งไวมากขึ้นด้วยการใส่ตัวเร่ง
ข้อเสีย
- ทำให้ใสได้ยาก
- มีกลิ่นฉุนมาก
- หดตัวเล็กน้อยเมื่อเรซิ่นแข็งแล้ว
- ผสมยาก
Epoxy Resin
Epoxy resin อีพ็อกซี่ก็คือเรซิ่นชนิดหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นให้มีหลากหลายสูตรเหมาะกับงานหลายประเภทเหมือนกัน แต่การใช้งานนั้นกว้างกว่าเรซิ่นทั่วไป สามารถใช้ทดแทนกันได้ อีพ็อกซี่เรซิ่นถือเป็นประเภทเรซิ่นเกรดคุณภาพสูง จุดเด่นของอีพ็อกซี่เรซิ่นคือ ความแข็งแรง การยึดติดแน่น ความใสและมันเงา ไร้รอยต่อ เริ่มแห้งตั้งแต่ 12 ชั่วโมง ใช้เวลา 24 ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อให้แห้งสนิท
การแข็งตัว แบ่งเป็น 2 ส่วน A และ B ส่วน A คือเรซิ่น ส่วน B คือตัวทำแข็ง ผสมในอัตราส่วน A:B 2:1 (แล้วแต่ยี่ห้อ)
- ปริมาณพาร์ท B ยิ่งมากยิ่งแข็งเร็ว แต่ควรผสมตามสัดส่วน เนื่องจากการแห้งที่ช้าของอีพ็อกซี่ทำให้ฟองสามารถลอยขึ้นมาแตกตัวด้านบน งานจึงจะใส
- ความชื้น ยิ่งความชื้นสูงยิ่งแข็งช้า ผิวหน้างานจะขุ่นมัว
ข้อดี
- ใสมาก ใช้งานง่ายกว่าเรซิ่นทั่วไป
- กลิ่นไม่แรง
- เมื่อแข็งแล้วไม่หดตัว
- ผสมง่าย
ข้อเสีย
- ราคาแพงกว่าเรซิ่นทั่วไป
- แห้งช้า ใช้เวลา 24 ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อให้แห้งสนิท
UV Resin
UV Resin เป็นเรซิ่นเนื้อใสที่สามารถแข็งตัวได้เมื่อถูกแสง UV และจะแข็งตัวก็ต่อเมื่อโดนแสงยูวีเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีเครื่องอบยูวี(แบบที่ใช้ทำเล็บ) แต่ถ้าหากไม่มีก็สามารถนำไปตากแดดจัดๆ ได้ จะแข็งเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับแสงแดดของวันนั้นๆ ความหนืดต่ำไหลได้ง่าย เหมาะสำหรับทำชิ้นงานเล็กๆ นิยมนำไปทำเครื่องประดับ
ข้อดี
- แข็งทันทีเมื่อนำไปอบในเครื่องอบ
- ไม่มีกลิ่น
- เหลืองช้าที่สุดในทุกเรซิ่น
- ไม่จำเป็นต้องผสมอะไรเพิ่มเติม แกะจากขวดสามารถใช้ได้เลย
- ใสมาก มีฟองน้อยเนื่องจากไม่จำเป็นต้องผสม
ข้อเสีย
- ราคาแพงที่สุด
- ต้องซื้อเครื่องอบ
Polyurethane Resin
Polyurethane Resin หรือ PU Resin ได้รับความนิยมในการนำมางานประเภท ผลิตต้นแบบ (Prototype), ทำแม่พิมพ์ (mould) โดยมีข้อดีในเรื่องการทนรอยขีดข่วนได้ดี, การเก็บรายละเอียดต้นแบบได้สูง และมีการหดตัวที่ต่ำ มีความทนทานต่อสารเคมี, น้ำมัน, และคราบต่างๆ ทำให้เพิ่มอายุการใช้งานของสินค้า เหมาะสำหรับงานหล่อที่ต้องการความรวดเร็วและร่นระยะเวลาการทำงานให้สั้นลง เนื่องจากเวลาทำงานสั้นมากใช้เวลาเพียง 4-5 นาทีในการแข็งตัวและสีไม่ใส
ข้อดี
- แข็งไวมาก
- ทนทานต่อรอยขีดข่วนมาก
- ทนอุณหภูมิได้สูง
ข้อเสีย
- ราคาแพง
- ระยะการทำงานสั้นมาก เพียง 5 นาที ทำให้ไม่เหมาะสำหรับงาน Handmade
ข้อควรระวังการใช้เรซิ่น
- ควรใส่ถุงมือและหน้ากากกันสารเคมีทุกครั้งก่อนเริ่มทำงาน
- เมื่อเข้าตาควรพบแพทย์โดยด่วน หากถูกส่วนอื่นของร่างกายควรเช็ดถูทำความสะอาดด้วยอะซีโตน
- มีหลายชนิด การใช้งานย่อมต่างกัน หากใช้ผิดชนิดจะทำให้งานเสียหายได้
- ถ้าผสมกับตัวทำให้แข็งในปริมาณที่มากๆ จะทำให้มีกลิ่นฉุน และเกิดความร้อนสูง อาจเกิดไฟลุกได้
- ไม่ควรเก็บไว้ในที่ร้อนหรือถูกแดดเป็นเวลานานติดต่อกัน การโดนแดดจะทำให้สีของเรซิ่นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
- ไม่ควรเปิดฝาภาชนะทิ้งไว้เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้แข็งตัวและเสื่อม ที่เก็บรักษาดีแล้ว จะมีอายุใช้งานไม่เกิน 2 เดือน
Vicosity and Hardness (ความหนืด และ ความแข็ง)
ก่อนเลือกซื้อเรซิ่นควรดู ความแข็งของตัวเรซิ่นหลังแห้งสนิท และที่สำคัญอีกหนึ่งข้อคือความหนืดของตัวเรซิ่นขณะผสม
- Vicosity คือ ความหนืดของเรซิ่น มีหน่วยเป็น "cps" ความหนืดยิ่งน้อยยิ่งดี ทำให้เทลง mold ง่าย และทำโอกาศการเกิดฟองน้อย
- Hardness หรือความแข็ง มีหน่วยวัดเป็น "shore" ความแข็งก็เป็นปัจจัยสิ่งสำคัญ เรซิ่นต้องแข็งแรงพอที่จะไม่แตก หรือ หัก ขณะการใช้งาน ยิ่งแข็งยิ่งดี
Chart เปรียบเทียบความหนืด
Chart เปรียบเทียบความแข็ง
Pot life and cure time (เวลาจัดการ และ การแข็งตัว)
Pot life และ cure time สองสิ่งนี่เป็นสิ่งที่ต้องรู้ก่อนจะเลือกซื้อ
-
Pot life คือเวลาที่ทั้งหมดที่มีในการผสมเรซิ่น part A และ part B เข้าด้วยกัน. Prosess ทั้งหมดต้องอยู่ภายในเวลา technical sheet กำหนดมา เรซิ่นจะเริ่มทำปฏิกิรยาทางเคมีทันทีเมื่อผสมกัน ใช้เวลาผสมนานเกินไปอาจทำให้เรซิ่นอาจจะเกิดฟองและเสียไปเลย
-
Cure time คือเวลาที่เรซิ่นใช้ในการแข็งตัว เรซิ่นที่เทลงใน mold ไม่ควรเอาออกมาไวเกินไป จะทำให้เรซิ่นยังแข็งตัวไม่พอและอาจผิดรูป