วิธีการติดตั้ง Jenkins และการตั้งค่า (Configuration) - Phokhin/Assignment-1 GitHub Wiki
การติดตั้ง Jenkins
1.เริ่มแรกให้ทำการ download jenkin จาก https://jenkins.io/download/ แล้วกด download ที่ Generic Java package(.war)
2.เมื่อโหลดสำเร็จแล้วจะได้ไฟล์ดังนี้
3.เมื่อได้ไฟล์มาแล้วให้เข้าไปที่ cmd ของเครื่อง แล้วทำการย้ายตัวเองไปยังที่ที่ไฟล์อยู่แล้วจึงใช้คำสั่ง java -jar jenkins.war เพื่อทำการRun jenkins
4.เมื่อกด enter เพื่อรันโค้ดดังกล่าวจะรันดังรูปด้านล่างนี้
5.หลังจากการรันสำเร็จให้สังเกตใน cmd จะพบข้อความดังรูปคือ รหัสสำหรับเข้าหน้า jenkins นั้นเอง
6.ให้ทำการเปิด browser แล้วเข้า http://localhost:8080 เพื่อเข้าหน้าเว็บ jenkins แล้วทำการใส่รหัสที่ได้มาจาก ข้อ 5.
7.หลังจากใส่รหัสแล้ว ให้กด continue จะพบหน้าตามรูปด้านล่างให้ทำการกดรูปแบบการติดตั้งได้ตามใจ
8.หลังจากเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วระบบจะโหลดฟีเจอร์ที่เราได้เลือกไว้จากข้อก่อนหน้านี้ให้รอซักพักเราก็จะอยูที่หน้าเริ่มต้นของ jenkins แล้วดังรูปด้านล่าง
Pull code จาก GitHub
9.หลังจากที่เราเข้าหน้าหลักของ jenkins ได้ให้ทำการกดไปที่ New Item ก็จะพบกับหน้าด้านล่าง ให้ใส่ชื่อให้เรียบร้อย แล้วกดไปที่ตัวเลือก Freestyle project แล้วกด ok
10.หลังจากกดปุ่ม ok แล้วจะเด้งมาที่หน้านี้
11.ให้ทำการติ๊กไปที่ Git แล้วกรอก URL ของ Git ที่เราต้องการเชื่อมแล้วใส่ช่อง Branches to build เป็น */main ดังรูปด้านล่าง
12.เลื่อนถึง Build Triggers ให้ติ๊ก Poll SCM แล้วเขียนในช่อง Schedule เป็น * * * * * แล้วกดที่ปุ่ม Apply และ Save
13.หลังจากที่กด save แล้วจะเด้งมาที่หน้าของ project ให้เราทำการกดไปที่ Build Now เพื่อทำการ Run
14.หลังจาก Run เสร้จแล้ว เราสามารถตรวจสอบผลของการ run ได้โดยกดไปที่ Workspace ถ้าพบว่ามีไฟล์จาก Git เข้ามาแล้วแสดงว่า pull สำเร็จ
Compile code
15.กดกลับไปที่หน้า Dashboard แล้วกดไปที่ new item เพื่อสร้าง project ใหม่
16.ให้ทำการตั้งชื่อให้เรียบร้อย แล้วกดไปที่ตัวเลือก Pipeline แล้วกด ok
17.จะเข้าสู่หน้า pipeline
18.ให้เลื่อไปยังหัวข้อ Pipeline แล้วจึงใส่โค้ดที่ต้องการรันใน Script แล้วกดไปที่ Apply และ Save
19.ให้เราทำการกดไปที่ Build Now เพื่อทำการ Run
20.หลังจาก run เสร็จให้ทำการเช็คผล โดยกดไปยังคิวของการรันที่เสร็จแล้วกดไปที่ Console Output เพื่อเช็คผลการ run
ทำงานร่วมกับ Robotframework
21.ให้เตรียม testcase จากไฟล์ robot ให้เรียบร้อย
22.แล้ว upload ไฟล์ดังกล่าวขึ้นใน Git ให้เรียบร้อย
23.ให้กลับมาหน้า Dashboard แล้วกดไปที่ new item เพื่อสร้าง project
24.ให้กรอกชื่อให้เรียบร้อย แล้วกดไปที่ตัวเลือก freestype project แล้วกด ok
25.ให้ใส่ URL ของ Git ที่มีไฟล์ robot ที่ได้ upload ไว้ และเปลี่ยนในช่อง Branch Specifier จาก*/master เป็น */main
26.ไปที่หัวข้อ Build แล้วกดที่ add build step แล้วกดเลือก command สำหรับ run ที่ต้องการ ให้ใส่คำสั่ง pybot ตามด้วยชื่อไฟล์ robot ที่ upload ไว้
27.หลังจากเขียนโค้ดเสร็จให้ไปที่หัวข้อ Post-build Actions แล้วเลือก Publish Robot Framework test results เพื่อให้แสดง Robot Framework Test Result ได้ กด Apply และ Save
27.หลังจากกลับมาที่หน้าของ project ให้กด build Now ให้ทำการรัน ระหว่างการรัน ระบบจะทำตาม test case ที่เราได้เขียนไว้ใน robot ที่ upload ไว้
28.หลังจาก run เสร็จให้ทำการเช็คผล โดยกดไปยังคิวของการรันที่เสร็จแล้วกดไปที่ Console Output เพื่อเช็คผลการ run
ผลลัพธ์การทดสอบของ Robot framework
29.หลังจาก run เสร็จให้ทำการเช็คผลลัพธ์การทดสอบของ Robot framework โดยกดไปที่ Robot Result เพื่อแสดงหน้า Robot Framework Test Results