Week 1 Project Management tools - Mrsmithz/Project-SW-Dev-and-Env GitHub Wiki
เลือก 3 Tools จากด้านล่างหรือมากกว่ามารีวิวและเลือก 1 Tool ในการใช้งานในโปรเจค
- asana
- trello
- atlassian
- redmine
- notion
- Github
ในการใช้ Workspace ใน Trello นั้นจะดูมีความละเอียดมาก เนื่องจากเราสามารถสร้าง List ของสิ่งต่างๆที่เราต้องทำหรือการทำงานต่างๆได้ แล้วเราก็จะสามารถสร้าง Card ใน List นั้นเพื่อสร้างขั้นตอนในการทำงานนั้นๆ และยังสามารถ Deadline ของงานนั้นได้ว่่าจะต้องทำเสร็จภายในวันไหน แล้วสามารถใส่ผู้ที่รับผิดชอบในการทำงานนั้นได้อีกด้วย ทำให้มีความละเอียดในการทำงานมาก แล้วคนที่ทำงานร่วมกับเราก็จะเข้าใจว่ามีงานอะไรที่ต้องทำบ้าง และเหลืองานอะไรอีก อีกทั้งยังสามารถใช้ Template ของ Workspace คนอื่นหรืองานเก่าๆได้อีกด้วย แถมยังมี Feature ในการช่วยให้สร้างสิ่งต่างๆใน Workspace อีกมากมาย เช่น Copy Card, Comment ในงานนั้นๆ, การโยกย้าย Card ไปยัง List อื่น นอกจากนี้ Workspace ที่เราสร้างขึ้นมาสามารถปรับ Permission ให้เป็น Public (ทุกคนสามารถดูได้), Organization (ดูได้เฉพาะคนที่ทำงานในสถานที่เดียวกัน), Workspace (สามารถเห็นและแก้ไขได้โดยสมาชิกของ Workspace หรือคนที่ทำงานในสถานที่เดียวกัน), Private (เฉพาะคนที่ถูกเจ้าของเลือกสามารถดูและแก้ไขได้)
เนื่องจากมี Feature เยอะบางทีก็จะทำให้ผู้ใช้งานใหม่ๆ ไม่เข้าใจว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือไม่รู้ว่าต้องกดปุ่มไหนเพื่อทำอะไร
เราสามารถเลือกพื้นหลังของ Workspace หรือใส่รูป/gif ในลง Card การทำงานของเราได้เพื่อความสวยงามหรือเพิ่มความเข้าใจของสมาชิก ทำให้ผู้มาดูหรือทำงานด้วยกันนั้นมีความสบายตาในการทำงานมากขึ้น
เนื่องจาก Trello จะค่อนข้างบังคับในการใช้ List และ Card เป็นหลักในการทำ Workspace จึงค่อนข้างเหมาะกับงานที่เป็นขั้นเป็นตอนในทีม จึงไม่ค่อยเหมาะใช้ในการ Present ให้ลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างดูเท่าไหร่ เพราะจะมีแต่เนื้อหางานจริงๆ
Asana เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ทำงานที่ต้องการเห็นความละเอียดค่อนข้างมากมีความละเอียดการใช้งานที่มากกว่าทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น Trello จะสามารถแสดงเป็น Board ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถแสดงรูปแบบของงานได้หลายมุมมอง เช่น Calendar, Timeline หรือ List สามารถเลือกดูได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ Asana ยังสามารถเขียน Subtask ใน Task หลักได้เพื่อลงรายละเอียดของการทำงานใน Task นั้นๆได้ แต่ข้อเสียของ Asana คือไม่สามารถทำการสร้างเช็คลิสต์ใน Task ได้และในเวอร์ชั่นฟรีจะสามารถใช้งานได้เพียงไม่เกิน 15 คนเท่านั้น มีฟีเจอร์ให้เลือกค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับตัวอื่นที่เป็นเวอร์ชั่นฟรี
มีความซับซ้อนในการใช้งานระดับหนึ่งสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้นเพราะตัว Asana มีรายละเอียดการใช้ที่ค่อนข้างเยอะแต่ในกรณีที่ใช้แบบสร้างหรือลบ Task ใหม่ๆยังสามารถเข้าใจได้ง่าย
ตัว workspace ของ Asana มีความทันสมัย โดยในแต่ละ Task สามารถ Upload รูปเพื่อใส่ไว้ใน Task ได้
Task สามารถ Upload รูปได้จากหลายที่เช่น Google Drive, Dropbox หรือจากเครื่องของผู้ใช้ก็ได้ นอกจากนี้ตัว Asana มีความหลากหลายในการแสดงรูปแบบของงานที่นอกเหนือจากรูปแบบของ Board ได้
Slack เป็น workspace ที่รวม messaging, tools, files เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารในการทำงานที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบครัน โดย Slack จะประกอบไปด้วย channels ซึ่งเป็น group chat ที่ใช้สำหรับการพูดคุยกับผู้คนใน channel นั้น ๆ และส่วนของ direct message (DM) ซึ่งเป็นการสนทาแบบส่วนตัวระหว่างผู้ใช้งานและ Slack ยังสามารถเพิ่ม adds-on ต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับ Development tools ต่าง ๆ เช่น Jenkins, GitHub, StackOverflow และ Business tools เช่น Google Analytics ได้ด้วย จึงทำให้ Slack ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการใช้งานติดต่อสื่อสารสำหรับการทำงาน
Slack ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สะดวก และสามารถจัดการ channels รวมถึง permission ต่าง ๆ ของผู้ใช้งานได้
UI ของ Slack ไม่ได้สวยงามหรือมีลูกเล่นมากนัก แต่มีความเรียบง่ายทำให้ลดความสับสนในการใช้งาน โดยเน้นไปที่ฟังก์ชั่นในการใช้งานมากกว่าความสวยงาม
เนื่องจาก Slack สามารถเพิ่ม adds-on รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับ Development tools และ Business tools ได้หลากหลาย จึงทำให้ Slack มีความยืดหยุ่นในการใช้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
Github Project เป็นเครื่องมืออเนกประสงค์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการจัดการโครงการแบบ Agile โดยจะมี Project Board ที่สามารถดูภาพรวมของโปรเจ็กต์และสามารถแบ่งโปรเจ็กต์ออกเป็นคอลัมน์ได้โดยแต่ละคอลัมน์สามารถแสดงประเภทของปัญหาหรือระยะโครงการได้ สามารถสร้าง Task และมอบหมายงานให้สมาชิกได้ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกโดยการ Comments, Share files, Tag team members และสามารถสร้าง Note บน Project Board ได้และยังมีฟีเจอร์ที่สามารถดูการเปลี่ยนแปลงย้อนหลังได้
ใช้งานได้ง่ายเนื่องจากมี Feature ค่อนข้างน้อย ไม่ซับซ้อนและสามารถเข้าใจได้ง่าย
UI ค่อนข้างเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ไม่ค่อยดึงดูดให้คนมาใช้งาน
สามารถกำหนด Role ของสมาชิกเพื่อจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล, มีการให้สมาชิก Review ก่อนที่จะ Approve เพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลง
UI ของ Trello เป็นรูปแบบ Kanban board ซึ่งหมายถึงข้อมูลที่เรียงเป็นแถวเรียงจากซ้ายไปขวา โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ 3 กลุ่มคือ To do Doing และ Done
UI ของ Trello รองรับการทำ Responsive ทำให้ใช้ง่ายไม่ว่าจะใช้บนอุปกรณ์ไหน
ในแต่ละส่วนสามารถพูดคุย แสดงความคิดเห็นได้ง่าย ทำให้สามารถตัดสินใจและแก้ไขงานส่วนๆนั้นได้ทันที
สมาชิกสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบเกี่ยวกับการอัพเดทงานแต่ละครั้งเนื่องจากทุกครั้งที่มีการอัพเดท จะอัพเดทกับผู้อื่นทันทีโดยไม่มี Delay
ดูความคืบหน้าของงานได้ง่าย อันนี้ใกล้ถึงกำหนดจะมีสีที่เด่นขึ้นมาให้สังเกตได้ง่าย